วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กิจกรรม NOS คือ?

กิจกรรม : ตอบคำถามลงในเว็บบล็อค
1. NOS หมายถึง?
คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลเครือข่าย

- การตรวจสอบสิทธิการใช้เครือข่าย
- การเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อยู่ในเครือข่าย : ติดต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย
การตรวจสอบสิทธิ์การใช้เครือข่าย การใช้เครื่องพิมพ์ในเครือข่าย การใช้ฐานข้อมูลในเครือข่าย

OS ปัจจุบัน (Windows 95/98/Me/Xp) จะมีส่วนที่ทำหน้าที่จัดการ NOS รวมอยู่ด้วย
       http://kittipol418.blogspot.com/2008/02/nos.html                         

2. NOS ประเภท Windows มีรุ่นใดบ้าง พร้อมภาพประกอบ
Windows รุ่นล่าสุดในชื่อว่า Windows 10 เข้าสู่ยุคใหม่ของระบบปฏิบัติการ Windows อย่างเต็มรูปแบบ แต่คงมีหลายคนที่ยังไม่เคยรู้หรืออาจจำกันไม่ได้แล้วว่า Windows แต่ละรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอพาทุกท่านย้อนอดีตไปดูกันดีกว่าว่า Windows รุ่นเด่น ๆ ที่หลายคนรู้จักและบางคนอาจยังไม่เคยเห็นนั้นมีหน้าตาอย่างไรกันบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าครับ
Windows 1.0
Windows 1.0

Windows 1.0
Windows 1.0

Windows 1.0

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 เป็น Windows รุ่นแรก ซึ่งยังไม่ได้รับความนิยม โดยแรกเริ่มถูกเรียกว่า Interface Manager แต่สุดท้ายทางไมโครซอฟท์ก็เลือกที่จะใช้ชื่อ Windows แทนเนื่องจากเรียกและจดจำได้ง่ายกว่า
Windows 2.0
Windows 2.0

Windows 2.0
Windows 2.0

Windows 2.0

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1987 เป็นการนำ Windows 1.0 มาพัฒนาใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นแรก เริ่มมีนักพัฒนาหลายรายพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้บน Windows 2.0
Windows 3.0
Windows 3.0

Windows 3.0
Windows 3.0

Windows 3.1
Windows 3.1

Windows 3.0

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1990 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จของ Windows ที่ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นก่อนหน้าค่อนข้างมาก รองรับ 16 สี อินเทอร์เฟซถูกพัฒนาให้มีสีสันดูน่าใช้งานมากกว่าเดิม และได้ออก Windows 3.1 ตามมาในปี 1992 ที่ทำให้ Windows กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่คนใช้กับแพร่หลายมากที่สุด
Windows NT
Windows NT

Windows NT

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1993 เป็นรุ่นที่พัฒนามาสำหรับใช้ในกลุ่มองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งในภายหลังได้ออกรุ่นใหม่ ๆ มาในช่วงเดียวกับ Windows สำหรับใช้ในบ้านแต่ละรุ่น
Windows 95
Windows 95

Windows 95
Windows 95

Windows 95

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1995 ยังคงเป็นระบบปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดย Windows 95 รองรับสีแบบ 32 บิต และรองรับ Multitasking อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึั้นมา รวมทั้งการนำเสนอปุ่ม Start และ Taskbar เป็นครั้งแรก
Windows 98
Windows 98

Windows 98
Windows 98

Windows 98

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1998 เป็นรุ่นที่พัฒนามีให้เหมาะกับการใช้ทำงานและใช้เพื่อความบันเทิงในบ้าน อินเทอร์เฟซคล้ายกับ Windows 95 แต่มีสีสันมากกว่าเดิม พร้อมกับการมาครั้งแรกของแถบ Quick Launch สำหรับเปิดโปรแกรมอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเปิด Start Menu
Windows 2000 Professional
Windows 2000 Professional

Windows 2000 Professional

          วางจำหน่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2000 เป็นรุ่นที่พัฒนามาด้วยโค้ดเคอร์เนลเดียวกับ Windows ตระกูล NT ออกแบบมาเพื่อใช้ในกลุ่มองค์กรหรือธุรกิจ มีการพัฒนาให้รองรับระบบเครือข่ายและมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น
Windows Me
Windows Me

Windows Me
Windows Me

Windows Me

          วางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายน 2000 ตัวย่อ Me ย่อมาจาก Millennium Edition เป็น Windows สำหรับใช้งานภายในบ้านรุ่นสุดท้ายที่จะใช้โค้ดเคอร์เนลแบบเดียวกับ Windows 95 และ 98 ในการพัฒนา มีการพัฒนาให้รองรับสื่อบันเทิงต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่า Windows 98
Windows XP
Windows XP

Windows XP
Windows XP

Windows XP

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2001 เป็น Windows รุ่นที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุด เนื่องจากอินเทอร์เฟซที่ถูกพัฒนาให้สวยงามกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่างก้าวกระโดด ปุ่ม Start สีเขียว Taskbar สีฟ้าสดใส พร้อมทั้งระบบที่มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถอัพเดทตัวเองได้ มีโปรแกรมรองรับมาก โดย Windows XP เป็นรุ่นที่แรกใช้โค้ดเคอร์เนลตระกูล NT พัฒนาออกมาทั้งรุ่น Home Edition สำหรับใช้ในบ้าน และ Professional สำหรับใช้ในธุรกิจ และออกเวอร์ชั่น 64 บิต ตามมาในปี 2005
Windows Vista
Windows Vista

Windows Vista
Windows Vista

Windows Vista

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2007 อินเทอร์เฟซที่ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยเน้นไปที่หน้าต่างแบบกึ่งโปร่งใส มองเห็นทะลุได้ ดูคล้ายกระจก ปุ่ม Start ถูกเป็นเปลี่ยนลูกแก้วโลโก้ Windows พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านรักษาความปลอดภัยมากกว่าเดิม แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับ Windows XP
Windows 7
Windows 7

Windows 7
Windows 7

Windows 7

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2009 ยังคงใช้อินเทอร์เฟซแบบกึ่งโปร่งใสคล้ายกับ Windows Vista รองรับการใช้งานแบบระบบสัมผัสหน้าจอ พร้อมทั้งการมาของ Taskbar รูปแบบใหม่ที่แสดงเป็นไอคอนโปรแกรมขนาดใหญ่กว่าเดิม สามารถปักหมุดโปรแกรมที่ใช้เป็นประจำไว้บน Taskbar ได้ เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก และทำให้ผู้ใช้ Windows XP หลายคนตัดสินใจที่จะอัพเกรดมาใช้ Windows 7
Windows 8
Windows 8

Windows 8
Windows 8

Windows 8.1
Windows 8.1

 Windows 8

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2012 มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อินเทอร์เฟซถูกเปลี่ยนให้เป็นแบบเรียบสไตล์ Metro ปุ่ม Start และ Start Menu หายไป แทนที่ด้วย Start Screen แบบเต็มจอ การใช้งานถูกแบ่งออกเป็นโหมด Desktop ปกติเหมือน Windows รุ่นก่อน ๆ กับโหมด Metro สำหรับใช้งานแอพพลิเคชั่นบน Windows Store แบบเต็มจอ รองรับการใช้งานระบบสัมผัสเต็มรูปแบบ มีผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกใจกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและเลือกที่จะใช้ Windows 7 ต่อไป โดยในปี 2013 ไมโครซอฟท์ได้ออก Windows 8.1 ที่นำปุ่ม Start กลับมา พร้อมทั้งปรับปรุงระบบอีกเล็กน้อย

Windows 10
Windows 10

Windows 10
Windows 10

 Windows 10

          เปิดตัวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2014 เป็น Windows รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทางไมโครซอฟท์ได้ข้ามชื่อ Windows 9 ไป สามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ อินเทอร์เฟซโดยรวมคล้ายกับ Windows 8 แต่โปรแกรมและแอพฯ ต่าง ๆ สามารถใช้งานได้ทั้งโหมด Desktop และโหมด Tablet ไม่แยกออกจากกันเหมือน Windows 8 อีกแล้ว พร้อมทั้งการกลับมาของ Start Menu สำหรับการใช้งานแบบโหมด Desktop โดยจะวางจำหน่ายในปี 2015

          เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ Windows แต่ละรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีใครเกิดทันใช้รุ่นไหนกันบ้างไหมเอ่ย แต่นอกเหนือจาก Windows รุ่นที่กล่าวถึงแล้วนี้ ยังมี Windows รุ่นอื่น ๆ อีกมากมายที่หลายคนอาจไม่รู้จัก โดยส่วนใหญ่จะเป็น Windows ตระกูล NT และ Server อีกหลายรุ่น สำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขององค์กรต่าง ๆ ชักอยากรู้เสียแล้วสิว่า Windows รุ่นต่อไปหน้าจะเป็นอย่างไร 


3. NOS ประเภท Linux มีรุ่นใดบ้าง พร้อมภาพประกอบ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติกาNOSคืออะไร  หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น         ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มี
หลายชนิด   เช่น  หน่วยความจำฮาร์ดดิสก์จอภาพคีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าว  จนอาจทำให้ระบบล่มได้  ระบบเครือข่าย  เช่น  เครื่องพิมพ์  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย  จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท  เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย  แต่โดยส่วนใหญ่ระบบ ปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน   เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม   หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ  ไป   ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต  ตัวอย่างเช่น   เน็ตแวร์ (NetWare)  ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทโนเวล   เป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์  NT/2000/2003, วินโดวส์  95/98/Me  และยูนิกซ์มีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว   โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม


1. ระบบปฏิบัติการ 
 ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น 

1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก 
2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน 
3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน

AIX โดยบริษัท IBM
AUX โดยบริษัท Apple
IRIS โดย บริษัท Silicon Graphic
Linux เป็น Freeware
OSF/I โดย บริษัท DEC
SCO UNIX โดย บริษัท SCO
SunOS โดย บริษัท SUN Microsystem
ULTRIX โดย บริษัท DEC
4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 
5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ  นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา 
ระบบปฏิบัติการ Windows XP ::::
    WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง
             Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น


            สรุปแล้วในปัจจุบันระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์มีสองค่ายใหญ่ด้วยกัน คือ Unix กับ Windows ค่ายแรกปรกกฏในรูปแบบของ Linux และ MacOS X จริงอยู่ว่ายังมีผู้ใช้ MacOS รุ่นเก่าอยู่มาก แต่ Apple ได้ประกาศเป็นทางการแล้วว่าได้เลิกสนับสนุน MacOS 9 แล้ว ในอนาคตผู้ที่ใช้ MacOS 9 ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ MacOS X อนึ่งที่แบ่งเป็นสองค่ายข้างต้นเป็นการแบ่งตามประเภท แต่ถ้าแบ่งตามยี่ห้อจะมีสาม คือ Linux, MacOS และ Windows

ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Vista
เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ที่พัฒนาต่อมาจาก Microsoft Windows XP และ Microsoft Windows Server 2003 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความล้ำสมัย ทั้งรูปร่างหน้าตา (Interface) และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ นอกจากที่ Vista จะมีความพิเศษในเรื่องฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ Microsoft Windows Vista อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์

https://sites.google.com/site/teachniccom/content5

4. NOS ประเภท Unix มีรุ่นใดบ้าง พร้อมภาพประกอบ

ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน
https://sites.google.com/site/teachniccom/content5



5. NOS ให้ทำหน้าที่ หรือ ให้บริการอะไรได้บ้าง  ยกตัวอย่างพร้อมอธิบายมาสัก 5 ตัวอย่าง
เขียนในเว็บบล็อคของตนเองแล้วส่งผลงาน (URL)

การเลือใช้ NOS มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายของบุคลากรในองค์ก
เช่น ความยากง่ายในการใช้งาน ความยากง่ายในการดูแล
และจัดการโปรแกรมต่างๆ รวมถึงระบบการรักษรความปลอดภัย
เป็นต้น สิ่งที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจ
คือ บริการต่างๆ ของระบบ NOS ที่มีในแต่ละระบบปฏิบัติการ

- บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Services)
- บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
- บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
- บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)
- บริการมัลติโพรเซสซิ่ง และคลัสเตอร์ริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)


บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Services)

> เป็นฟังก์ชันที่สำคัญของ NOS

> NOS จะต้องสามารถในด้าน

- การจัดการเครื่องพิมพ์ :
- การจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แบ่งปันระหว่างผู้ใช้ :
- ระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากร :


บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
การดูแล และจัดการเครือข่าย
- การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้ (User Accounts)
- ควบคุมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย
- ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย
- การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย
- การเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทรบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลาหรือก่อนที่จะกาลายเป็นปัญหาใหญ่
เครื่องมือนี้จะช่วยในการจัดการเครือข่ายง่ายขึ้น
- Netware จะใช้ ระบบไดเร็คทอรี่ที่เรียกว่า NDS eDirectory (Novell Directory Services eDirectory)
- Windows2003 จะใช้ระบบไดเร็คทอรี่ที่เรียกว่า ADS (Active Directory Services)
บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
การรักษาความปลอดภัยข้อมูลใจเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ
NOS ควรมีฟังก์ชันที่สามารถกำหนดระดับผู้ใช้ โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้หรือกลุ่มของผู้ใช้ได้
- ความสามารถเข้าถึงข้อมูลในทุกระดับชั้น
- สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใครเข้าใช้ระบบได้
- สามารถเขียนหรือลบข้อมูลระบบฐานข้อมูลของระบบ
บริการอินเทอรืเน็ตและอินราเน็ต (Internet/Intranet Services)
ปัจจุบันองค์กรต่างๆมักจะให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยกำหนดเครือขายภายใน ให้เป็นอินทราเน็ตเพื่อความปลอดภัยของเครือข่าย จึงต้องติดตั้งบริการต่างๆขึ้น เช่น
- เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Wev Server) : ให้บริการสืบค้นข้อมูบผ่าน Web
- เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) : สถานีบริการ e-mail กับสถานีอื่นๆ
- เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP Server) : บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เพื่อลด Traffic ใน Ontranet
- ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) : บริการเปลี่ยหมายเลข IP เป็น URL
- พร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์ (Proxy server) : เครื่องที่บริการเก็บข้อมูล เพื่อให้บริการสำหรับผู้อื่นที่ขช้อมูลนั้นๆ อีก (เพื่อลดปริมาณ Bandwidth)
- เน็ต NAT (Network Address Translation) : เครื่องที่บริการแจก Real IP สำหรับเครื่อง Local ที่ร้องขอข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เมื่อข้อมูลกลับมา NAT จะนำข้อมูลส่งกลับให้เครื่อง Local
บริการมัลติโพรเซสซิ่ง และคลัสเตอร์ริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)
- Multiprocessing : NOS ที่ดีต้องรองรับการทำงานของเครื่องที่มี CPU มากกว่า 1
- Clustering Services : คือ การทำให้ Server หลายๆเครื่อง ทำงานร่วมกัน เมื่อ Server เครื่องหนึ่งไม่สามารถให้บริการได้ มี 2 ลักษณะ
- Failover : หากมีเครื่องหนึ่งเสีย เครื่องอื่นจะทำงานแทน
 Loadvalancing : หากเครื่องใดทำงานโหลดเกินกำหนด จะแบ่งงานไป Process เครื่องอื่น
บริการดังกล่างเป็นบริการเพื่อนให้เซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อถือได้สูง (High Availability)
http://kittipol418.blogspot.com/2008/02/nos.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น